หน้าแรก กระดาน ห้องสนทนา ตลาด บทความ ห้องภาพ อุปกรณ์ ประชาสัมพันธ์ ร้านดำน้ำ เรือดำน้ำ หนังสือ Links ติดต่อ |
ความสำคัญในการทำการพักน้ำที่ความลึกหลายๆขั้น Revised 7/09/2007
น้องTeen
ภาพที่ 1 ความสำคัญในการทำการพักน้ำที่ความลึกหลายๆขั้น สรุปและเรียบเรียง จากบทความ The Importance of Deep Safety Stop ของ Richard L.Pyle deepstop.htm ขอเริ่มต้นกล่าวถึงผู้เขียน นาย Richard L.Pyle ก่อนว่า เขาเป็นนักวิจัยปลา ต้องลงไปเก็บตัวอย่างปลาที่ความลึกต่างๆ ลึกสุดก็ช่วง 180-220 ฟุต หรือประมาณ 36-66 เมตร ลงบ่อยจนนับจำนวนไดฟ์ไม่ถ้วนแล้ว และเริ่มสังเกตถึงอาการป่วยเหมือนๆกันที่เกิดหลังดำน้ำ คือหลังจากไดฟ์ก็จะเริ่มรู้สึก เหนื่อย หรือ คลื่นเหียนวิงเวียนศีรษะ และก็เห็นได้ชัดว่า อาการหลังดำน้ำพวกนี้เกิดจากการที่มี Nitrogen สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป เพราะอาการพวกนี้จะเป็นหนัก จากไดฟ์ที่ลงไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมงที่ความลึก 200 ฟุต หรือ 60 เมตร มากกว่าที่จะเป็นในไดฟ์ที่ลงนานถึง 4-6 ชั่วโมง แต่ตื้นๆ สิ่งที่น่าสนใจและน่าปวดหัวก็คือ อาการนี้ไม่ได้เกิดสม่ำเสมอทุกไดฟ์ บางครั้งก็ไม่มีอาการอะไรเลย บางครั้งเพลียจนขับรถกลับบ้านหลังดำน้ำไม่ได้ และด้วยความเป็นนักวิทยาศาสตร์ นายRichard ก็พยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างไดฟ์ที่มีอาการป่วยหนักๆกับทุกการกระทำตั้งแต่ก่อนดำน้ำ จนหัวจมน้ำ คือคิดตั้งแต่ อุณหภูมิใต้น้ำ , คลื่นที่ผิวน้ำ, อาการขาดน้ำ, การอดหลับอดนอนก่อนการดำน้ำ และ อื่นๆอีกมากมาย แต่ก็ไม่มีอะไรที่สามารถบอกผลได้แน่ชัด สุดท้ายก็ได้คำตอบ ว่า ............เป็นเพราะ........ปลา !!!! แล้วมันเกี่ยวกันยังไง สรุปคือ ไดฟ์ไหนที่ลงไปแล้วจับปลาและนำปลาขึ้นมาได้ ไดฟ์นั้นแทบจะไม่มีอาการป่วยอะไรเลย แต่ไดฟ์ไหนที่จับปลาไม่ได้ก็จะมีอาการป่วยเกิดขึ้น อ่านมาถึงตรงนี้แล้วทุกคนคงจะคิดว่าจะเป็นไปได้อย่างไร? มันไปเกี่ยวกับการจับปลาได้ไง คนเขียนนี่ต้องมั่วสรุปแน่เลย จับปลานะ(ไม่ใช่ตกปลา) เขาต้องไปว่ายไล่จับปลาซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ลงไปจับปลานี่ต้องออกแรงและซดอากาศ เป็นการอัดไนโตรเจนเข้าร่างกายแน่นอน ข้อนี้เราน่าจะรู้กัน แต่ที่ทุกคนไม่รู้คือ เวลานำปลาขึ้นมาจากความลึก นาย Richard ต้องหยุดบ่อยๆเพื่อคอยเอาเข็มแทงเข้าไปที่ปอดปลาเพื่อลดความดันในตัวปลา (เดี๋ยวปลาปอดแตก...ตาย) เพราะตัวอย่างปลาที่ต้องการ คือ ปลาเป็นๆ ไม่ใช่ปลาตาย ซึ่งการหยุดเพื่อที่จะเจาะถุงลมปลาก็จะหยุดที่ความลึกที่ระดับลึกกว่าการบังคับพักน้ำขั้นแรกของการดำแบบติดDecompression (หรือการดำแบบมีการหยุดเพื่อลดแรงกดดันในร่างกาย) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆแบบยกตัวอย่างให้เห็นก็คือ เมื่อนาย Richard นำปลาขึ้นมาจากความลึก 200 ฟุต หรือ 60เมตร การหยุดขั้นแรกตามตารางการหยุดเพื่อลดแรงกดดันน้ำ (Decompression Table) คืออยู่ราวๆ 50 ฟุต หรือ 15 เมตร แต่นาย Richard จะต้องลดแรงกดดันน้ำในตัวปลาที่ความลึก 125 ฟุต หรือ 37 เมตรก่อน โดยจะใช้เวลา 2-3 นาทีที่ความลึกนั้น ทีนี้เราลองคิดตาม ... เวลาเก็บตัวอย่างปลาได้แทนที่นาย Richard จะเริ่มหยุดทำการลดความดันที่ 50 ฟุตหรือ 15 เมตร กลับต้องหยุดที่ความลึก 125 ฟุต หรือ 37 เมตร สัก 2-3นาที ก่อน ซึ่งตามหลักการที่ว่าด้วยการดูดซึมก๊าซเข้าสู่หลอดเลือดและเนื้อเยื่อแล้ว (ซึ่งเป็นหลักการที่ใช้กับDive Computer ทุกวันนี้) ก็จะหมายความว่า การที่นาย Richard หยุดเพิ่มอีก 2-3 นาที ที่ความลึก 125 ฟุต หรือ 37 เมตร แทนที่จะระบายไนโตรเจนออกเค้าได้เพิ่มปริมาณไนโตรเจนเข้าไปอีก (ย้ำว่าตามหลักการคำนวณ) ซึ่งก็หมายความว่าการกระทำแบบนี้ น่าจะเพิ่มปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากแรงกดดันขึ้นไปอีก หลังจากสรุปหาความสัมพันธ์ได้จากไดฟ์เก็บตัวอย่างปลากับอาการเหนื่อยและง่วงซึมที่ลดลง นาย Richard จึงเริ่มทำ Deep Stop (ขอเรียกการหยุดที่ความลึกที่เกินกว่าตารางคำนวณออกมาว่า Deep Stop หรือ แปลเป็นไทยว่า การพักน้ำแบบลึกกว่ากำหนด) ทุกครั้งไม่ว่าจับปลาได้หรือจับปลาไม่ได้ และลองเดาสิว่าผลเป็นยังไง ทุกครั้งที่ทำ Deep Stop อาการเหนื่อยและเพลีย หายไปหมด นาย Richard ยังบอกว่า เค้าสามารถไปดำน้ำลึกๆได้ในตอนเช้า แล้วกลับมาทำงานตอนบ่ายถึงเย็นจนเสร็จได้ในวันเดียว และหลังจากทำDeep Stop มาเป็นปีๆ นาย Richard ก็เชื่อว่า การทำDeep Stop สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคที่เกิดจากแรงกดดัน(DCS)ได้ และในบทความนี้ก็มีเขียนถึงเหตุผลทางสรีระวิทยาว่า ทำไมทำ Deep Stop แล้วถึงไม่เป็น DCS ซึ่งก็เป็นเรื่องลึกซึ้งและยากเกินกว่าที่ฉันจะอธิบายออกมาได้ ใครอยากรู้ว่าทำไม ก็ขอเชิญเข้าไปอ่านต่อได้ในนี้ http://www.diveright-coron.com/deepstop.htm ขอสรุปวิธีการคำนวณ Deep Stop และ การทำ Deep Stop ดังนี้ 1. Deep Stop แรกที่ทำคือ 50% ของความลึกสูงสุด ยกตัวอย่าง หากไดฟ์นี้เราดำน้ำลึกสุด 30 เมตร ฉะนั้น Deep Stop แรก คือ 50% ของ 30 = 15 เมตร เป็นเวลา 1 นาที หลักการ ที่สำคัญสำหรับ Deep Stop คือ อย่าอยู่นานเกินที่กำหนด ( 1 นาที ) เพราะนั่นหมายถึงว่า เราได้ระบายฟองอากาศที่ความลึก 30 เมตรออก แต่ เราได้นำฟองอากาศที่ 15 เมตรเข้าไปด้วย 2. จากนั้น ให้ทำ Stop 1 นาที ทุกๆ 3 เมตร (หรือ ที่ หาร 3 ลงตัว) จากตัวอย่างข้อที่หนึ่ง Stop ต่อๆมาคือ 12 เมตร = 1 นาที 9 เมตร = 1 นาที 6 เมตร = 3 นาที (Safety Stop) 3 เมตร = 1นาที Stop และ 1 นาที เพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำ หลังจากที่ Team Teen Diving และ Sunday Divers ของเรา ได้ทำ Deep Stop ทุก Dive หลังจากที่ได้อ่านพบ บทความนี้ จำนวนไดฟ์คร่าวๆที่ได้ทำ Deep Stop มีไม่ต่ำกว่า 200-300 ไดฟ์ พวกเราได้พบว่า ขณะที่พักน้ำอยู่ระหว่างไดฟ์ พวกเรารู้สึกดีขึ้น ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย เหมือนแต่ก่อน โดยเฉพาะตัวฉันเอง ที่ต้องตื่นตั้งแต่ ตี 5 เพื่อขับรถไปดำน้ำที่ สัตหีบ ฉันพบว่า เมื่อฉันทำ Deep Stop ฉันไม่ง่วงและไม่ต้องนอนตอนกลางวัน และยังสามารถขับรถกลับบ้านได้อย่างสบายๆในวันเดียวกัน ความรู้สึก เหนื่อย หรือ เพลีย นั้น น้อยกว่า แต่ก่อนมาก ขอเพิ่มเติมความรู้จากครูMarlinไว้ด้วยกันเลยนะคะ เพิ่มเติมอีกนิดจากที่เคยอ่านมา รวมทั้งที่น้องทีนแนะนำให้อ่าน เขาว่ากันว่าการทำ Deep Stop นั้น ถึงแม้จะต้องจ่ายด้วยการมีไนโตรเจนสะสมเพิ่มกว่าที่ควรจะเป็น (หากคำนวนตามหลักคณิตศาสตร์) และทำให้เราต้องมีเวลา NDL น้อยลง แต่สำหรับหลักทางสรีรวิทยาแล้ว ว่ากันว่าจะทำให้การระบายฟองอากาศขนาดจิ๋ว (Micro Bubble) ง่ายและมากขึ้นครับ ลองนึกภาพของฟองอากาศเล็กๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่เราดำน้ำ ถึงแม้จะเป็นฟองอากาศที่ไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ แต่ก็เป็นฟองอากาศที่ต้องระบายออกจากร่างกาย เมื่อเราอยู่ที่ความลึกนั้น ฟองเหล่านี้ก็จะเล็กมากจนออกจากร่างกายได้อย่างง่ายดาย แต่หากเราไม่หยุดให้มันระบายออกสักระยะหนึ่ง (เช่นสักสองนาที) มันก็จะระบายออกช้าลง และบางส่วนหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเราจนเราขึ้นมาถึงจุด Safety Stop (ห้าเมตร) ตอนนั้นก็จะมีฟองขนาดใหญ่ขึ้นหน่อยหนึ่งอยู่จำนวนมากที่จะแย่งกันออกจากร่างกายเรา การทำ Deep Stop จึงเป็นเทคนิคที่ทำให้ฟองอากาศเล็กๆ ออกไปจากร่างกายเราก่อนที่จะถึงจุดที่เราทำ Safety Stop (หรือ Deco Stop ของ Technical Divers) นั่นเองครับ คนที่ไม่ทำ Deep Stop จึงอาจมี Silent Bubble ตกค้างอยู่ในร่างกายมาก และทำให้เกิดอาการเหนื่อย เพลีย ง่วงเหงาหาวนอน หลังจากการดำน้ำมากหน่อย เนื่องจากเป็นเทคนิคใหม่ ก็เลยยังมีการถกเถียงกันเยอะในหมู่นักวิชาการเกี่ยวกับการดำน้ำ ก็เลยต้องทดลองกับตัวเองดูก่อนก็แล้วกันครับ ไดว์ไหนที่ดำลึกและมีระยะทางจากความลึกระดับสุดท้ายห่างจาก Safety Stop มากๆ ลองทำ Deep Stop ดูแบบที่น้องทีนแนะนำ เปรียบเทียบกันกับวันที่ไม่ทำดูซิ ว่าความรู้สึกแตกต่างกันอย่างไร เท่าที่ผมทำมา ก็รู้สึกมากเหมือนกันว่ามันสดชื่นกว่าเดิม แต่ไม่ทราบว่าเป็นอุปาทานหรือเปล่านะครับ address: 202.133.163.151 |
|